![]() | การเลี้ยงปลาในกระชังในพื้นที่ตำบลสองแคว ได้แก่ หมู่ที่ 4 บ้านกลาง หมู่ที่ 5 บ้านสองแคว หมู่ที่ 6 บ้านหัวข่วง หมู่ที่ 7 22 พฤศจิกายน 2561 |
22 พฤศจิกายน 2561 |
22 พฤศจิกายน 2561 |
![]() |
|
![]() |
|
![]() | ประวัติวัดสองแคว
วัดสองแควตั้งอยู่หมูที่ 4 ตำบลสองแคว กิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ธรณีสงฆ์แปลงที่ 1 ตามโฉนด 4 ไร่ 2 ตารางวา และแปลงที่ 2 อีก 87 ตารางวา สภาพพื้นที่เป็นหมู่บ้านยาวเลียบลำน้ำปิงมี 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 4 กับ หมู่ที่ 5 ตำบลสองแคว หมู่ที่ 4 เรียกว่าบ้านกลาง หมู่ที่ 5 เรียกว่าบ้านสองแคว ส่วนวัดตั้งอยู่ท้ายบ้านกลาง (หมู่ที่ 4) ถือเป็นจุดกึ่งกลางระหว่างบ้านหมู่ที่ 4 กับบ้านหมู่ที่ 5 มีถนนผ่านกลางหมู่บ้านยาวเลียบตั้งแต่ หมู่ที่ 1 ถึงหมู่ที่ 7 ต.สองแคว และผ่านออกบ้านปากทางเจริญหมู่ที่ 4 ต.ดอยหล่อสู่ถนนเชียงใหม่-ฮอด วัดสองแควได้นามมาจากสภาพพื้นที่หมู่บ้านอยู่ระหว่าง ปากแม่น้ำขานไหลมาบรรจบกับแม้น้ำปิงเป็นแควน้ำสองสายจึงได้ชื่อว่า บ้านสองแคว โดยแม่น้ำทั้งสองสายได้มาบรรจบกันที่บ้านสบขาน (บ้านท่ามะโอปัจจุบันนี้) คำว่า สบ หมายถึงปากน้ำ ซึ่งมีทางเหนือของหมู่บ้านสองแคว ในอดีตที่หน้าวัดสองแควเป็นแม่น้ำปิงและแม่น้ำขานมาบรรจบกันจึงมีท่าน้ำอันกว้างใหญ่เรียกกันสมัยนั้นว่า “ท่ากว้าง” โดยมีวัดสองแควตั้งอยู่บนฝั่งฟากจังหวัดเชียงใหม่ ฟากตรงข้ามเป็นฝั่งจังหวัดลำพูน ซึ่งปัจจุบันลำน้ำปิงได้เปลี่ยนทิศทางไปเดินผ่านสวนในเขตอำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน จึงทำให้เนื้อที่เขตของอำเภอป่าซาง ข้ามมาอยู่ฝั่งจังหวัดเชียงใหม่แต่เนื้อที่รับผิดชอบยังเป็นของจังหวัดลำพูน เรียกหมู่บ้านนี้ว่า บ้านโท้ง ก่อนแม่น้ำปิงจะเปลี่ยนทางเดิน มีคำบอกเล่าว่า มีคนจีนที่เป็นนายทุนมาซื้อที่ดินในเขตบ้านท่าตุ้ม อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูนเป็นเนื้อที่สองร้อยกว่าไร่และได้ขุดลำเหมืองผ่านกลางที่ดินเพื่อที่จะนำน้ำมาใช้ในการเกษตร ขุดสร้างเสร็จพอถึงฤดูฝน ฝนตกน้ำปิงนองล้นฝั่งน้ำปิงได้ได้ไหลเข้าลำเหมือง และเกิดน้ำเซาะลำเหมืองผ่านกลางสวน ทำให้ลำเหมืองกว้างขึ้นจนน้ำปิงเปลี่ยนทางเดิน ทำให้แยกเนื้อที่เป็นสองส่วน น้ำปิงก็เลยไหลผ่านเหมือนอย่างทุกวันนี้ วัดสองแควสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1435-1440 ในสมัยพระนางจามเทวีได้ยกไพรพลขึ้นมาจากจังหวัดลพบุรี โดยทางเรือขึ้นมาทางน้ำปิงเพื่อที่จะมาสร้างเมืองหริภูญชัยเมืองลำพูน และได้มองเห็นลานที่ปากน้ำสองแควเป็นที่กว่างขวางและบนฝั่งก็เป็นที่ราบเหมาะแก่การพัก ไพรพล จึงเรียกท่ากว้างเป็นที่จอดพักเรือและได้สร้างเมืองเล็ก ๆ ขึ้นเมืองหนึ่งบริเวณปากน้ำขึ้นไปเรียกว่า “เวียงเถาะ” เถาะ หมายถึง ชั่วคราว และเวียงเถาะก็คือ ทุ่งท้อ ในปัจจุบันคำเรียกเพี้ยนไปจาก เถาะเป็นท้อ วัดสองแควเมื่อพระนางจามเทวีได้ให้ไพรพลทหารสร้าง โดยมีหลักฐานกำแพงเมืองตามชายทุ่งห่างจากหมู่บ้านประมาณ 150 เมตร เป็นแนวยาวตลอดหมู่บ้าน บัดนี้ได้ถูกขุดไปหมดแล้ว พร้อมไปสร้างเมืองหริภูญชัย และต่อมาวัดนี้ก็ไม่มีใครมาดูแลรักษา ศรัทธาสมัยนั้นก็ไม่มีมาก จึงปล่อยให้เป็นวักร้างมาโดยตลอดจนมาถึงเมื่อพ.ศ.2491 ก็ได้บูรณะขึ้นมาอีกครั้งแต่ไม่มีข้อมูลผู้มาบูรณะ มาปรากฏหลักฐานจากผู้มาเป็นเจ้าอาวาสสมัยครูบาชมพู ซึ่งเป็นที่นับถือศรัทธาจำนวนมากตั้งแต่ พ.ศ. 2426 ได้บูรณะวัดสองแควทั้งวิหารและศาลา จนกระทั้งปี พ.ศ. 2470 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาสร้างอุโบสถ เพื่อเป็นที่ทำสังฆะกรรม ของพระภิกษุสงฆ์และนับว่าเป็น อุโบสถแรกของตำบลสองแคว และต่อมาอีกหกปี พ.ศ. 2476 ท่านครูบาชมพูก็ไดมรณภาพไป ต่อมาก็ได้พระกว้างเป็นเจ้าอาวาสและได้เป็นเจ้าอาวาสจนถึง พ.ศ. 2491 ก็ได้ลาสิขาไป จากนั้นปี 2491 ท่านครูบาตุ้ยธมเสโน เป็นเจ้าอาวาสละได้บูรณะก่อสร้างวิหาร กุฏิศาลา และก่อสร้างซ่อมแซมสิ่งปลูกสร้างมาโดยตลอดจน พ.ศ. 2524 ท่าครูบาตุ้ย ธมเสโน ก็ได้มรณภาพไป และไดพระมานิตย์ ธมทินโน เป็นเจ้าอาวาส จากพ.ศ. 2524-2526 ก็ลาสิขาไปและได้ไปอาราธนานิมนต์เอา พระพรหม พรมเสโน จากวัดบ่อหิน อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นพระลูกวัดสองแควได้ไปเป็นเจ้าอาวาสที่วัดบ่อหินกลับมาเป็นเป็นเจ้าอาวาส จนถึงปัจจุบันนี้ และท่านพระครูสุพรม พรมเสโน ได้มรณภาพลงเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2548 ดังนั้นทางคณะศรัทธาจึงได้มีการประชุม และได้ไปนิมนต์ พระอุทัย สุจิตโต จากวัดหนองโจ๋ง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน มารักษาการ โดยให้เจ้าคณะตำบลสองแควได้แต่งตั้งรักษาแทนเจ้าอาวาสวัดสองแควขึ้น ในที่ประชุมทางเจ้าคณะตำบลจึงได้แต่งตั้งให้พระอุทัย สุจิตโต รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดสองแคว
20 พฤศจิกายน 2561 |
![]() | ประวัติวัดหัวข่วง
ตามที่ได้สอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านพอจับใจความได้ดังนี้ วัดหัวข่วงนี้แต่เดิมได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งไม่ทราบนามมาจากวัดแสนเมืองมาหลวง (ซึ่งอีกนามหนึ่งเรียกว่าวัดหัวข่วง) ในอำเภอเมืองเชียงใหม่ได้ธุดงค์จาริกมาที่หมู่บ้านนี้ ซึ่งแต่เดิมเรียกนามบ้านท่าปี้ ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีลานกว้าง (ภาษาล้านนาเรียกลานกว้างว่า “ข่วง”) ติดกับแม่น้ำปิง เป็นท่าพักของพ่อค้าซุงและคนเดินทางทางน้ำอยู่เสมอ เมื่อพระภิกษุจากวัดแสนเมืองมาหลวง (หัวข่วง) ได้มาพบเห็นบริเวณลานกว้างซึ่งเป็นข่วงริมท่าน้ำก็ชอบใจ กอร์ปกับศรัทธาชาวบ้านก็เลื่อมใสในตัวท่าน จึงได้พากันยกลานท่าน้ำสร้างเป็นวัดขึ้นและได้ขนานนามว่า “วัดหัวข่วง” โดยสันนิฐานว่าอาศัยเหตุผล 2 ประการคือ หลังจากได้ตั้งเป็นวัดก็มีพระภิกษุ สามเณร อยู่จำพรรษาตลอดมาจนได้รับพระบรมราชานุญาตให้สร้างเป็นวัด ตามพระราชบัญญติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 ลงวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2425 ตั้งอยู่บ้านหัวข่วง เลขที่ 60 หมู่ 6 ต.สองแคว กิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัด มีเนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 86 ตารางวา ทิศเหนือยาว 1 เส้น 2 ศอก จดทางสาธารณประโยชน์ ทิศใต้ยาว 1 เส้น 2 วา จดทางสาธารณประโยชน์ ทิศตะวันออกยาว 1 สัน 10 วา จดทางสาธารณประโยชน์ เสนาสนะสิ่งก่อสร้างประกอบด้วย กุฏิ วิหาร เจดีย์ และถังน้ำประปา
การบริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนามคือ
************************************
20 พฤศจิกายน 2561 |
![]() |
ประวัติวัดป่าลาน
วัดป่าลานเดิมเป็นวัดร้างที่สร้างขึ้นในสมัยของพระนางจามเทวี ครั้งที่เดินทางขึ้นมาตามลำน้ำแม่ระมิงค์ (แม่น้ำปิง) เพื่อมาตรองนครหริภุญชัย ระหว่างที่เดินทางมานั้นพระนางได้ทรงสร้าง วัดอารามและสถานที่สำคัญต่าง ๆ ที่ปรากฏในตำนาน เช่น เมืองฮอด ผาอาบนาง ผาแต้ม แก่งสร้อย วังสะแกง วัดพระธาตุดอยน้อย ฯลฯ
ในวันแรม 12 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเส็ง พุทธศักราช 1201 ได้ทรงสร้างวัดพระธาตุดอยน้อย เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและสร้างเสร็จในวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 4 ใช้เวลาในการสร้าง 1 เดือน กับ 6 วัน ได้ทำการเฉลิมฉลองเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน แล้วทรงเดินทางต่อไปยังนครหริภุญชัย เมื่อเดินทางออกจากท่าน้ำวัดพระธาตุดอยน้อย ขึ้นมาตามลำน้ำแม่ระมิงค์ มาตรงบริเวณหน้าวัดป่าลาน แต่เดิมนั้นเป็นดงต้นกายขึ้นตามริมน้ำและปากคลอง (ล้อง) ซึ่งเป็นจุดที่จะมองเห็นวัดพระธาตุดอยน้อยก่อนที่จะลับตาเพราะความคดเคี้ยวของลำน้ำพระนางได้เหลียวกลับไปมองวัดพระธาตุดอยน้อยอีกครั้ง ด้วยอาการที่พระนางได้แสดงอาการเหลียวกลับไปมองนี้ พระนางจึงมีรับสั่งให้คณะช่างโยธาที่เดินทางมากับพระองค์สร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกว่าพระนางได้แสดงอาการเหลียวกลับไปมองพระธาตุดอยน้อย โดยขนานนามว่า “วัดปากล้องป่ากายนางเหลียว”
โดยเริมสร้างเมื่อ วันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 4 ปี มะเส็ง พุทธศักราช 1201 โดยช่างโยธาและบริวารของพระนางเป็นผู้ดูแลก่อสร้าง (พระนางจามเทวีมิได้ดูแลเพราะต้องรีบเดินทางไปเมืองหริภุญชัยก่อนที่จะสินเดือน 4)
วัดปากล้องป่ากายนางเหลียว ได้รับการดูแลอุปัฐฐานจากศรัทธาชาวบ้านที่มีอยู่ไม่มากนัก เนื่องจากเป็นที่ลุ่มติดลำน้ำปิงจึงเกิดภัยธรรมชาติ เกิดน้ำท่วมใหญ่ ทำให้วัดตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิงถูกกัดเซาะพังลงในลำในน้ำปิง ประชาชนต้องอพยพย้ายถิ่นฐานทำกินไปอยู่ที่อื่น ทำให้วัดปากล้องป่ากายนางเหลียว ร้างลง และเหลือเพียงแค่ตำนานที่เล่าขานกันมา
ในปีจุลศกราช 1118 (พ.ศ. 2299) ตัวปี๋ ออกค่ำ (ขึ้น 1ค่ำ) เดือน 11 วันพฤหัส ได้มีศรัทธา สองพี่น้องชาวพม่า(ช่วงนั้นล้านนาอยู่ในการปกครองของพม่า) ได้แก่ นางมุญดา และ นางโนชา (โนจา) พร้อมกับญาติกาวงศาได้มีศรัทธาปสาทะร่วมกันบูรณะวัดร้างขึ้น โดยใช้นามวัดใหม่ว่า “วัดป่าลานจุมท่าขามแก้วกว้างต้าต้างดอนมูล หนทักขิณะล่องใต้นพบุรีสะหลีนครพิงค์ชัย” แต่ชาวบ้านเรียกสั้น ๆ ว่า “วัดป่าลาน” หรือบางท่านก็เรียกตามนามเดิมของวัดร้าง คือ วัดล้องป่ากาย โดยการก่อสร้างได้ขยับขยายให้ห่างจากลำน้ำปิงเข้ามาประมาณ 30 วา
วัดป่าลาน ได้มีการสร้าเสนานะต่าง ๆ เรื่อมา โดยมีลำดับเจ้าอาวาส ปกครองรักษา มาดังนี้
ปูชนียะวัตถุ - พระบรมธาตุ พระธาตุเจดีย์ พระพุทธก่ออิฐคือปูน โบราณวัตถุ - ธรรมาสน์ทรงสูง รูปปราสาทหลังก๋าย ประดับลวดลายลงรักปิดทอง ตู้ธรรม หีบพระธรรมประดับลายลงรักปิดทอง เสนาสนะ - ประกอบด้วย พระวิหาร กุฏิสงฆ์ หอระฆัง โรงครัว พระอุโบสด(กำลังก่อสร้าง)
ข้อมูลจาก เอกสารใบลานที่เขียนขึ้นในปี พ.ศ.2299 (จ.ศ.1118) โดย พ่อหนานหลวง สุยะ เรื่อง พุทธตวายโลก (พุทธทำนาย)
******************************************** 20 พฤศจิกายน 2561 |
![]() |
|
ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 / 1 (9 รายการ)